วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วิเคราะห์แผนการสอน



วิเคราะห์แผนการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ป.6
นายอนุวัฒน์ สำโรงแสง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
จากแผนการเรียนการสอนจะพบว่าเนื้อหาที่ใช้ในการเรียนการสอนนั้นไม่มาก ซึ่งเป็นเพียงการบวก การคูณเลขเท่านั้น
การสอนส่วนใหญ่จะเป็นการอธิบายให้นักเรียนฟัง ไม่มีตัวอย่างให้เด็กได้ทำเป็นเพียงการสอนบนกระดานดำเท่านั้น และไม่มีการเสริมแรงให้เด็กอยากที่จะเรียนอยากที่จะตอบคำถาม
การแก้ปัญหาและพัฒนาประสิทธิภาพ
การเรียนของเด็กแต่ละคนนั้นจะไม่เท่ากัน ซึ่งบางคนอาจะใช้เวลานานกว่าจะเข้าในในเนื้อหาเหล่านั้น ซึ่งครูเองจะต้องใส่ใจกับเด็กทุกคน โดยการมีแบบทดสอบให้เด็กทำหลังเรียน จะเป็นการดูว่าเราสอนให้เด็กเข้าใจและทำข้อสอบได้ หากเด็กยังทำไม่ได้ก็ให้ทำการสอนเป็นพิเศษ ไม่ปล่อยปะะเลย สอนจบแล้วก็ปล่อยไปถ้าทำอย่างงี้ก็จะเป็นการเพิ่มปัญหาให้กับเด็ก ทำให้เด็กไม่อยากเรียนต่อ หากเขาเข้าใจในเรื่องนั้นเรื่องอื่นเขาก็จะตั้งใจเรียนให้ดีกว่าเดิม
การจัดระบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
การที่เด็กจะเข้าใจได้ดีในการเรียนนั้น ต้องให้เด็กได้แสดงความสามารถหรือร่วม ทำกิจกรรมในเรื่องนั้นๆขึ้นมา อย่างเช่น การคูณเลขแบบกระจาย ถ้าองบนกระดานดำเด็กอาจจะเข้าใจไม่ครบถ้วน เราก็สามารถหาอุปกรณ์มาช่วยในการสอนได้ เช่น กล่องและหลอด มาช่วยในการอ่านจำนวนหน่วยของตัวเลข ซึ่งจะมีหลักหน่วยไปจนถึงหลักล้าน หรือมีแบบฝึกหัดคิดเลขเร็วมาให้เด็กทำเมื่อเด็กทำได้หรือว่าถูกหมดก็ให้รางวัลแก่เด็กอาจจะเป็นคะแนนช่วย หรือคำชมจากครู ซึ่งจะทำให้เด็กมีความรู้สึกดีต่อการเรียนอยากที่เรียนในวิชาคณิตศาสตร์ต่อไป
การออกแบบการสร้างการนำไปใช้ประเมินผลและประยุกต์ใช้นวัตกรรมให้เกิดประสิทธิภาพการเรียนรู้
สำหรับตัวข้าพเจ้าการเขียนแผนการสอนนั้น จะเน้นการเรียนที่นักเรียนมีส่วนร่วมมากที่สุด ไม่เน้นสอนบนกระดาน ธรรมชาติอยู่รอบข้างใส่ลงในแผนการสอน การทำกิจกรรมนอกห้องเรียน การแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมไม่เกิน 5 คนต่อ(ตามความเหมาะสมของเนื้อหา)ใช้อุปกรณ์ วัสดุ ที่สามารถหาได้ราคถูกมาประยุกต์ใช้ในการสอน และนักเรียนเองสามารถใช้ได้ตลอดการเรียน การประเมินผลตามสภาพจริงและภาคปฏิบัติ การมีแบบฝึกหัด เพื่อติดตามประสิทธิภาพของครูผู้สอนเองและประเมินนักเรียน เพื่อที่จะปรับปรุงแก้ไขในการเรียนการสอนอีกต่อไป

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัติความเป็นมาของ E-Mail

ประวัติความเป็นมาของ E-mail
เมล หรือ อีเมล์ (อังกฤษ: e-mail, email) ย่อมาจาก จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: electronic mail) คือวิธีการหนึ่งของการแลกเปลี่ยนข้อความแบบดิจิทัล ซึ่งออกแบบขึ้นเพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นหลัก ข้อความนั้นจะต้องประกอบด้วยเนื้อหา ที่อยู่ของผู้ส่ง และที่อยู่ของผู้รับ (ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่ง)เป็นอย่างน้อย บริการอีเมลบนอินเทอร์เน็ตในทุกวันนี้เริ่มมีการจัดตั้งมาจากอาร์พาเน็ต (ARPANET) และมีการดัดแปลงโค้ดจนนำไปสู่มาตรฐานของการเข้ารหัสข้อความ RFC 733 อีเมลที่ส่งกันในยุคคริสต์ทศวรรษ 1970 นั้นมีความคล้ายคลึงกับอีเมลในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงจากอาร์พาเน็ตไปเป็นอินเทอร์เน็ตในคริสต์ทศวรรษ 1980ทำให้เกิดรายละเอียดแบบสมัยใหม่ของการบริการ โดยส่งข้อมูลผ่านเกณฑ์วิธีถ่ายโอนไปรษณีย์อย่างง่าย (SMTP) ซึ่งได้เผยแพร่เป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ต 10(RFC821)เมื่อ พ.ศ.2525(ค.ศ.1982)และเปลี่ยน RFC733 ไปเป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ต 11(RFC822)การแนบไฟล์มัลติมีเดียเริ่มมีการทำให้เป็นมาตรฐานใน พ.ศ.2539 (ค.ศ.1996)ด้วย RFC2045 ไปจนถึง RFC2049 และภายหลังก็เรียกกันว่าส่วนขยายสื่อประสมในระบบอินเทอร์เน็ตแบบอเนกประสงค์ (MIME)
ที่มา.www.wikipidia.com

ประวัติความเป็นมาของ E-mailในประเทศไทย
การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า "แคมปัสเน็ตเวอร์ก"(Campus Network)เครือข่ายดัง กล่าวได้รับการสนับสนุนจาก "ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ"(NECTEC)จนกระทั่งได้ เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2535 พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้ E-mailตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 โดยเริ่มที่ "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่" เป็นแห่งแรก และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อ แบบ On-line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ด้วย E-mailโดยใช้ระบบ MSHnet ละ UUCP โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้ามาสู่ระบบวันละ 2ครั้ง ในปีถัดมา NECTECซึ่งอยู่ภายใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน(ชื่อเดิมในขณะนั้น)ได้จัดสรรทุนดำเนินโครงการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษา
ที่มา.http://www.abnongphai.ac.th

อี-เมล์ (E-mail) ย่อมาจาก Electronic mail (แปลว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์)
หมายถึงการสื่อสารหรือการส่งข้อความ โน้ต หรือบันทึกออกจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ผ่าน ไปเข้าเครื่องปลายทาง ( Terminal) หรือเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งโดยส่งผ่านทาง ระบบเครือข่าย (Network) ผู้ส่งจะต้องมีเลขที่อยู่ (E-mail address) ของผู้รับ และผู้รับก็สามารถ เปิดคอมพิวเตอร์เรียกข่าวสารนั้นออกมาดูเมื่อใดก็ได้ โดยปกติ จะไม่มีการพิมพ์ข้อความหรือ ข่าวสารนั้นลงแผ่นกระดาษ นับว่าเป็นการประหยัดกระดาษไปได้ส่วนหนึ่ง โดยทั่วไป ถือกัน ว่าเป็นงานส่วนหนึ่งของสํานักงานอัตโนมัติ (Office automation) ปัจจุบันได้รับความนิยมเป็น อันมาก
E-mail คือ จดหมาย ที่ใช้รับส่งกันโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ บางแห่งใช้เฉพาะ ภายใน บางแห่งใช้เฉพาะภายนอกองค์กร (สําหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดใน โลกคือ Internet) การใช้งานก็เหมือนกับเราพิมพ์ข้อความในโปรแกรม Word จากนั้นก็คลิก คําสั่ง เพื่อส่งออกไป โดยจะมีชื่อของผู้รับ ซึ่งเราเรียกว่า Email Address เป็นหลักในการรับส่ง

รูปแบบชื่อ Email Address
1. Your name คือ ชื่อที่เราสามารถตั้งเป็นชื่ออะไรก็ได้ (แต่ต้องไม่ซ้ํากับของคนอื่น)
2. เครื่องหมาย @ สําหรับกั้นระหว่าง ชื่อ กับ ชื่อเว็บไซต์ หรือ Domain name
3.Hotmail.com คือ ชื่อเว็บไซต์ หรือ Domain name
ชนิดของการรับส่ง E-mail
1.รับส่งโดยใช้โปรแกรม E-mail โดยเฉพาะ เช่น Outlook Express,Eudora
2. รับส่งโดยผ่าน Web site เช่น www.gmail.com
3. รับส่งโดยผ่าน Web Browser เช่น Netscape, IE เป็นต้น
การรับส่ง E-mail
แบบที่ 1 ตามปกติจะต้องมีการกําหนด Configuration เพื่อกําหนด Incoming Mail และ Outgoing Mail Server ซึ่งทําให้เกิดความยุ่งยากในการ Check mail เนื่องจากบางคนไม่ได้มีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นของตนเอง หรือบางคนอาจจะต้องเดินทางบ่อย ๆ ทําให้ไม่ค่อยสะดวก ดังนัน
แบบที่ 2 คือ check Email ผ่าน Web site จึงมีผู้นิยมมากที่สุดในโลก เนื่องจากไม่จําเป็นต้อง กําหนด Configuration อะไรทั้งสิ้น แค่เพียงสมัครเป็นสมาชิกกับ Web site ที่ให้บริการ แค่จําชื่อ User และ Password เท่านั้น ก็สามารถจะตรวจสอบ E-mail ได้จากที่ต่าง ๆ ทั่วโลก (การลงทะเบียน เพื่อขอ E-mail แบบที่ 2 นี้จะเป็นการให้บริการฟรี!)

วัตถุประสงค์ของ E-mail
เพิ่มความรวดเร็วและสะดวกเพื่อให้ข้อมูลกับบุคคลหรือทั้งกลุ่มของประชาชนในวิธีที่ง่ายและราคาไม่แพง เพิ่มสิทธิประโยชน์รวมถึงมีการบันทึกของสิ่งที่ส่งและรับและคิดเกี่ยวกับเนื้อหาและรูปแบบก่อนที่จะส่ง
เป้าหมาย
เพื่อความก้าวหน้าในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลหรือกลุ่มคน
เพื่อการสื่อสารหรือส่งข้อมูลลับของบริษัท
เพื่อความรวดเร็วในการส่งข้อมูล


แก้ปัญหาอีเมล์ที่มีไวรัส
ไวรัสที่มากับอีเมล์ที่ผู้ใช้ทุกคนบนอินเทอร์เน็ตรู้จักกันดีที่สุด 2 ตัวก็คือ Melissa และ Love Bug ไวรัสสองตัวนี้แสดงให้เห็นว่าภัยคุกคามที่มากับอีเมล์นั้น นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และเนื่องจากภัยคุกคามนี้เป็นภัยคุกคามต่อประชาคมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ดังนั้นการป้องกันจึงจำเป็นต้องเกิดจากความร่วมมือของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต หรืออย่างน้อยที่สุดก็ภายในองค์กร โดยผู้ดูแลระบบเน็ตเวิร์กจำเป็นต้องมีแผนการณ์และนโยบายที่ชัดเจน ดังจะเห็นได้จากองค์กรหลายๆ แห่งได้จัดตั้งไฟร์วอลล์แบบที่มีการตรวจสอบข้อมูล (ตัวกรองแบบแอ็กทีฟเพื่อตรวจหาร่องรอยของไวรัสในข้อมูลที่ไหลเข้าสู่องค์กร) แต่ไฟร์วอลล์นี้ก็ใช่ว่าจะแก้ปัญหาภัยคุกคามได้อย่างสิ้นเชิง อย่างน้อยที่สุดก็คือ การที่ไม่สามารถรับมือกับการโจมตีจากม้าโทรจัน (Trojan Horse)
นอกจากการดูแลระบบด้วยตัวกรองแบบแอ็กทีฟแล้ว ผู้ดูแลเรื่องความปลอดภัยก็ควรที่จะเตรียมรับมือกับการโจมตีผ่านทางอีเมล์ของผู้ใช้ในองค์กร ด้วยกระบวนการ 4 ขั้นตอนดังนี้

1. สร้างความเข้าใจ และสื่อสารกับผู้ใช้ที่มีความเสี่ยงต่อการโจมตีจากอีเมล์ ผู้ดูแลควรจะประกาศเตือนผู้ใช้ที่มีความเสี่ยงด้วยการประชาสัมพันธ์ปกติ และผ่านทางระบบเน็ตเวิร์ก เช่นอาจจะมีการปิดป้ายเตือนไว้ในพื้นที่ต่างๆ ของสำนักงาน อย่างในห้องนั่งเล่น พร้อมทั้งให้ URL ของเว็บไซต์สำหรับหาข้อมูลเพิ่มเติม วิธีการปฏิบัติที่ชัดเจนในการจัดการกับไวรัส หรืออาจจะออกเป็นข้อบังคับจากฝ่าย MIS ถ้าจำเป็นผู้ดูแลระบบไม่ควรที่จะปล่อยปละละเลยกับไวรัสที่มากับอีเมล์ ควรจะมีการแจ้งเตือน และทำงานร่วมกับผู้ใช้ในกรณีที่ไวรัสเริ่มโจมตีต่อระบบแล้ว
2. ใช้เครื่องมือสำหรับกรองไวรัส และม้าโทรจันที่มากับอีเมล์อย่างพอเพียงและเหมาะสม ตัวอย่างเช่น ในการโจมตีล่าสุดของไวรัสที่อยู่ในอีเมล์นั้น ระบบกรองข้อมูลขององค์กรสามารถตรวจจับไวรัส โดยตรวจสอบหาคำว่า I Love You ในส่วนหัวของข้อความ
วิธีการหนึ่งที่สามารถใช้แก้ปัญหาได้ก็คือ การจำกัดขนาดของอีเมล์ อย่างน้อยที่สุดก็ในช่วงเริ่มต้นเมื่อทราบข่าวของการโจมตี การป้องกันนี้จะช่วยป้องกันไวรัสที่ติดมากับไฟล์ที่สามารถทำงานได้ซึ่งแนบมากับอีเมล์ โดยปกติองค์กรส่วนใหญ่จะจำกัดขนานของอีเมล์ไว้ที่ 5 กิโลไบต์ต่อฉบับ
3.มีการปรับเปลี่ยน แก้ไขนโยบายความปลอดภัย และการป้องกันไวรัสขององค์กรอยู่เป็นระยะ ซึ่งรวมถึงการจัดทำเป็นรายงานการโจมตีของไวรัสซึ่งปรากฎในที่ต่างๆ โดยผู้ใช้สามารถซ้อมกระบวนการจัดการกับการโจมตี เพื่อเตรียมตัวรับสถานการณ์จริงที่อาจเกิดขึ้นได้ ผู้ดูแลระบบควรจะเตือนให้ผู้ใช้ทำการอัพเดตไฟล์ข้อมูลของไวรัส และที่สำคัญควรจะบอกให้ผู้ใช้ทราบความแตกต่างระหว่างไวรัสจริงๆ กับกลลวงด้วย
4. มีการใช้ระบบแบ็กอัพ และการดึงข้อมูลกลับที่มีประสิทธิภาพ ในบางครั้งก็จำเป็นต้องดึงข้อมูลมาจากการแบ็กอัพเมื่อคอมพิวเตอร์ในองค์กรถูกโจมตีจากไวรัสไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับมาโครไวรัส และไวรัสที่แทรกซึมเข้ามากับไฟล์ที่สามารถทำงานได้ การโจมตีนี้เป้าหมายจะอยู่ที่ผู้ใช้ที่ไม่ค่อยจะได้สนใจกับเมล์บ็อกซ์ของตนเองมากนัก หรือไม่ค่อยจะได้สนใจข้อมูลที่อยู่ในฮาร์ดดิสก์ ผู้ดูแลระบบควรจะสร้างอุปกรณ์เก็บข้อมูลศูนย์กลางให้ผู้ใช้สามารถทำการแบ็กอัพข้อมูลของตนเองได้ แต่ก็เช่นกัน ผู้ดูแลระบบก็จะต้องตรวจตรา และป้องกันไม่ให้แหล่งเก็บข้อมูลศูนย์กลางนี้กลายเป็นเครื่องมือในการแพร่ของไวรัสด้วย
ในขณะนี้การป้องกันผู้ใช้จากไวรัส และม้าโทรจันเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะละเลยไม่ได้ แต่ความปลอดภัยในด้านอื่นๆ ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ดังเช่น การขโมยลิขสิทธิ์ทางปัญญา การสูญเสียผลิตผลในการทำงานของผู้ใช้ และความไม่เหมาะสมในการใช้งานอีเมล์ของผู้ใช้ในองค์กร

อีเมล์ไม่ได้เหมาะกับทุกสถานการณ์
ข้อเสียของการสื่อสารกับอีเมล์ก็คือ เป็นการสื่อสารแบบอะซิงโครนัส กล่าวง่ายๆ ก็คือ ถ้าผู้ใช้จำเป็นต้องสั่งจำนวนสินค้าที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะเลือกใช้การสื่อสารผ่านโทรศัพท์มากที่สุด ทั้งนี้ก็เนื่องจากผู้ใช้ไม่ทราบว่าผู้รับจะได้อ่านอีเมล์เมื่อใด แต่ถ้าผู้ใช้จะตรวจสอบว่าผู้รับข้อความของเรานั้นอยู่ที่โต๊ะทำงานหรือไม่ ผู้ใช้อาจจะใช้เครื่องมือในการรับส่งข้อความแบบ IM (Instant Messaging) ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถส่งข้อมูลที่มีเงื่อนไขทางเวลาผ่านระบบเน็ตเวิร์กไปได้ แต่ว่าระบบ IM ก็ไม่ได้มีความสามารถในการแก้ปัญหาทั้งหมด
อย่างไรก็ตามการใช้ระบบ IM นั้นทำให้ผู้ดูแลความปลอดภัยของระบบจะต้องเพิ่มการป้องกันภัยคุกคามเพิ่มขึ้น มีสิ่งสำคัญ 3 ประการที่จะต้องพิจารณาในการนำระบบ IM มาใช้ในองค์กร
http://www.computertoday.net/articles.php?id=404044
ข้อดีและข้อเสียของระบบรับส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์
ความเสี่ยงที่มีในระบบ Unified Messaging
คุณอาจจะเคยเห็นบริการที่ให้คุณสามารถรับข้อความที่อยู่ในรูปของแฟกซ์ เสียง เพจเจอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ และอีเมล์ได้ในเมล์บ็อกซ์เดียว ซึ่งบริการเหล่านี้กำลังขยายตัวทั้งในด้านของจำนวน และความสามารถ ระบบรับข้อความนี้ได้กลายมาเป็นต้นกำเนิดของระบบ UM ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถรับข้อความจากที่ใดๆ ก็ได้ ทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารลง ด้วยการใช้เมล์บ็อกซ์เดียวเก็บข้อความทั้งหมด โดยการเข้าใช้งานนั้น ก็เพียงแต่ใช้อินเทอร์เน็ตแอ็กเคานต์ และพาสเวิร์ดเท่านั้น ระบบ UM ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็วดังเหตุผลที่ได้กล่าวไปแล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่จะละเลยไม่ได้สำหรับระบบ UM ก็คือระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์กร
ในขณะนี้มีมาตรฐานหลักๆ สำหรับระบบ UM อยู่ 2-3 มาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานนี้เป็นแนวทางหลักให้ผู้ขายสามารถพัฒนาระบบ UM ใด้ตรงกับความต้องการของตลาด แต่ด้วยความแตกต่างของมาตรฐานเหล่านี้ ทำให้เกิดความท้าทายในการสร้างระบบความปลอดภัยให้กับผลิตภัณฑ์ UM ทั้งหมดนี้ ซึ่งจะต้องสามารถทำงานร่วมกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริการที่มีความสามารถในการเก็บข้อความได้หลากหลายรูปแบบ
ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีโพรโตคอลสำหรับความปลอดภัยของระบบ UM ออกมาอย่างชัดเจน แต่ก็มีแนวทางพื้นฐานสำหรับผู้ดูแลระบบความปลอดภัยเพื่อสร้างความปลอดภัยให้เกิดกับระบบ UM ดังต่อไปนี้
1.คือ พยายามคิดไว้ว่าไม่มีความปลอดภัยในทุกๆที่ๆคุณไม่ได้สร้างขึ้นมา ตัวอย่างเช่น ข้อความเสียงอะนาล็อกอาจจะถูกเปลี่ยนให้เป็นข้อมูลดิจิตอล เพื่อส่งผ่านอีเมล์บนอินเทอร์เน็ตโดยไม่ได้ผ่านกระบวนการเข้ารหัสเลย หรือไม่ก็แฟกซ์ที่ส่งมาจากแผนกบุคคลอาจจะเก็บอยู่ในรูปแบบไฟล์กราฟิกพื้นฐาน (.TIFF,.JPG เป็นต้น) เพราะฉะนั้นถ้าคุณต้องการความปลอดภัยแล้ว คุณก็จำเป็นต้องสร้างขึ้นมาเอง

2.คือทำให้ข้อมูลทุกอย่างเป็นความลับ ถ้านโยบายในการรักษาความปลอดของระบบ UM ในองค์กรกำหนดให้ข้อความทุกๆ ข้อความมีระดับของความปลอดภัยเท่ากันแล้ว คุณจะมั่นใจได้เลยว่าจะไม่มีข้อความใดที่ถูกส่งไปโดยใช้ระดับความปลอดภัยที่ต่ำสุด หรือต่ำกว่าที่ควรจะเป็น

3. สร้างความมั่นใจในระบบรักษาความปลอดภัยด้วยตัวเอง การตรวจสอบ รูปแบบในการเก็บข้อมูลที่เป็นความลับ และการดูแลความปลอดภัยของการสื่อสารในการเข้าใช้งานระบบ (ไม่ว่าจะเป็นระบบไร้สาย หรือ POTS ก็ตาม) อยู่เป็นระยะ จะทำให้ระบบมีความปลอดภัยเพิ่มมากยิ่งขึ้น
และถ้าคุณคิดว่าระบบการสื่อสารไร้สายของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือโทรศัพท์เซลลูล่าร์นั้นมีความปลอดภัยแล้วละก็ ขอให้คุณคิดใหม่ เพราะเมื่อปี 1997 Bruce Schneier ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเข้ารหัส (ที่ Counterpane Labs, www.counterpaine.com) ได้ค้นพบช่องโหว่ของเทคโนโลยีเข้ารหัสที่ใช้ในระบบโทรศัพท์เซลลูล่าร์ดิจิตอล
สร้างความมั่นใจและลงมือใช้
ถึงแม้ว่าระบบอีเมล์จะมีใช้มานาน แต่ก็อย่าได้ไว้วางใจมากนัก และก็อย่าสงสัยหรือลังเลในการที่จะสร้างและนำระบบ PKIมาใช้ในองค์กร ซึ่งในขณะนี้มาตรฐานสำหรับความปลอดภัย ของระบบรับส่งข้อความกำลังได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็อาจจะต้องใช้เวลานาน กว่าที่มาตรฐานจะได้กลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้ใช้งานกัน
ซึ่งในขณะนี้ก็ยังไม่มีระบบรับส่งข้อความ หรือผลิตภัณฑ์ใดที่มีความปลอดภัยเต็มรูปแบบ ดังนั้นผู้ดูแลความปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กรจึงควรติดตามข่าวสารเกี่ยวกับภัยคุกคามใหม่ๆ ดังที่เราได้แนะนำไปแล้ว และด้วยกลยุทธ์ที่เราได้กล่าวไปข้างต้นคงจะสามารถช่วยให้ระบบมีความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นได้


เหตุที่มี E-mailนั้นสอดคล้องกับสังคมปัจจุบันอย่างไร
ปัจจุบันถือว่าอีเมล์เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันก็ว่าได้เพราะมีความสะดวกสบายรวดเร็วในการรับและส่งและที่สำคัญสามารถส่งได้ทีละหลายฉบับ โดยไม่ต้องพิมพ์หรือส่งทีละคน ถือว่าตอบสนองต่อชีวิตที่เร่งรีบได้ ซึ่งสมัยก่อนเราจะติดต่อสื่อสารกันทางจดหมายซึ่งใช้ระยะเวลานานในการรับและเสียค่าบริการ แต่อีเมล์เป้นการให้บริการฟรีซึ่งคงจะถูกใจใครหลายๆคนในยุคนี้ อีกทั้งกรณีการส่งไฟล์รูปหรือแนบเอกสารสำคัญต่างๆก็สามารถทำได้ แถมยังสามารถทำได้ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ ทำให้ไม่ต้องรอว่าควรจะส่งเวลาไหนดี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้รับว่าจะเปิดอ่านเวลาไหนก็แค่นั้น

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อมูลเกี่ยวกับโพรโตคอล Secure/MIME (S/MIME) นั้นอยู่ที่ www.imc.org/rfc2633/

นวัตกรรมการศึกษาไทย


การใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ชุดการเรียนสื่อประถม
ผู้พัฒนา ครูเพชร์รัตน์ ศรีสุวรรณ์ เมื่อ ปีการศึกษา 2550
1.ทีมา
กรมวิชาการ (2544 : 3) กล่าวถึงการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ว่ามีเป้าหมายสำคัญคือ เพื่อให้นักเรียนเข้าใจหลักการทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานในวิทยาศาสตร์ เข้าใจขอบเขตธรรมชาติและข้อจำกัดของวิทยาศาสตร์ให้นักเรียนมีทักษะที่สำคัญในการศึกษาค้นคว้าและคิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถนำความรู้ ความเข้าใจในเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ แต่จากการจัดการเรียนการสอนพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนยังไม่สูงเท่าที่ควร ผู้รายงานจึงคิดว่าควรผลิตนวัตกรรมการเรียนรู้ขึ้นมาแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชื่อนวัตกรรมนี้ว่า นวัตกรรมการเรียนรู้ชุดการเรียนสื่อประสม เรื่อง “ระบบอวัยวะในร่างกายมนุษย์” วิชา ว 32101 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน โดยแบ่งชุดการเรียนสื่อประสมออกเป็น 9ชุดการเรียน
2.วัตถุประสงค์ในการพัฒนา
1. เพื่อหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนรู้ชุดการเรียนสื่อประสม เรื่อง “ระบบอวัยวะในร่างกายมนุษย์”
วิชา ว 32101 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ที่ผู้รายงานผลิตขึ้น ใน 2ลักษณะคือ
1.1 หาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนรู้ชุดการเรียนสื่อประสม เรื่อง “ระบบอวัยวะในร่างกายมนุษย์” วิชา ว 32101 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน โดยเทียบเกณฑ์ 80 / 80
1.2 หาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนรู้ชุดการเรียนสื่อประสม เรื่อง “ระบบอวัยวะในร่างกายมนุษย์” วิชา ว 32101 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน โดยพิจารณาจากความก้าวหน้าในการเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 20
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนเมื่อใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ชุดการเรียนสื่อ ประสม เรื่อง “ระบบอวัยวะในร่างกายมนุษย์” วิชา ว 32101 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน โดยใช้สถิติทดสอบที (t-test)
3. เพื่อหาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ชุดการเรียนสื่อประสม เรื่อง “ระบบอวัยวะใน ร่างกายมนุษย์” วิชา ว 32101 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน
3. สมมุติฐานการศึกษา

1. ประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนรู้ชุดการเรียนสื่อประสม เรื่อง “ระบบอวัยวะในร่างกายมนุษย์” วิชา ว 32101 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน มีประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) / ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 80 / 80
2. ความก้าวหน้าในการเรียนเมื่อใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ชุดการเรียนสื่อประสม เรื่อง “ระบบอวัยวะในร่างกายมนุษย์” วิชา ว 32101 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน มีค่ามากกว่าร้อยละ 20
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเมื่อใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ชุดการเรียน
สื่อประสม เรื่อง “ระบบอวัยวะในร่างกายมนุษย์” วิชา ว 32101 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อนวัตกรรมการเรียนรู้ชุดการเรียนสื่อประสม เรื่อง “ระบบอวัยวะในร่างกามนุษย์”วิชา ว 32101 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน โดยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

4. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
4.1 ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากโรงเรียนบางซ้ายวิทยา อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 4 ห้องเรียน มีนักเรียนรวมทั้งสิ้น 159 คน
4.2 กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบางซ้ายวิทยา อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ปีการศึกษา 2550 โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จากกลุ่มประชากรทั้งหมด 4 ห้องเรียนได้นักเรียนมา 1 ห้องเรียน ซึ่งเป็นนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับปานกลางแต่เป็นกลุ่มที่มีความพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง มีนักเรียนจำนวน 39 คน
5. เครื่องมือที่ใช้ในการรายงาน
เครื่องมือที่ใช้ในการรายงานประกอบด้วย
5.1 นวัตกรรมการเรียนรู้ชุดการเรียนสื่อประสม เรื่อง “ระบบอวัยวะในร่างกายมนุษย์” วิชา
ว 32101 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน
5.2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนประจำชุดการเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประจำหน่วยการเรียน แบบฝึกหัดประจำชุดการเรียน แบบประเมินทักษะการทำกิจกรรม แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้

6. วิธีการรวบรวมข้อมูล
ผู้รายงานได้นำนวัตกรรมการเรียนรู้ชุดการเรียนสื่อประสม เรื่อง “ระบบอวัยวะในร่างกายมนุษย์” วิชา ว 32101 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ไปทดลองใช้กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบางซ้ายวิทยา อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 3 ครั้งเพื่อหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนรู้ชุดการเรียนสื่อประสม เรื่อง “ระบบอวัยวะในร่างกายมนุษย์” วิชา ว 32101 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน หลังจากนั้นจึงนำนวัตกรรมที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขไปทดลองใช้กับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบางซ้ายวิทยา อำเภอบางซ้าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 39 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550

7. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
1. ผลการหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนรู้ชุดการเรียนสื่อประสม เรื่อง “ระบบอวัยวะในร่างกายมนุษย์” วิชา ว 32101 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน เมื่อพิจารณาเป็นรายชุดการเรียน พบว่า ชุดการเรียนทุกชุดมีประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1)/ประสิทธิภาพของผลลัพธ์(E2)เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ 80/80
ผลการหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนรู้ชุดการเรียนสื่อประสม เรื่อง “ระบบอวัยวะในร่างกายมนุษย์” วิชา ว 32101 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน เมื่อพิจารณาเป็นภาพรวมของนวัตกรรมการเรียนรู้ พบว่า นวัตกรรมการเรียนรู้ชุดการเรียนสื่อประสม เรื่อง “ระบบอวัยวะในร่างกายมนุษย์” วิชา ว 32101 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน มีประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1)/ประสิทธิภาพของผลลัพธ์(E2)เท่ากับ 81.13/80.30 เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ 80/80
2. ผลการหาความก้าวหน้าในการเรียนโดยใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ชุดการเรียนสื่อประสม เรื่อง “ระบบอวัยวะในร่างกายมนุษย์” วิชา ว 32101 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน เมื่อพิจารณาเป็นรายชุดการเรียน พบว่า ชุดการเรียนทุกชุดทำให้นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนสูงกว่าร้อยละ 20 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 20 ที่สมมติฐานกำหนดไว้
ผลการหาความก้าวหน้าในการเรียน เมื่อพิจารณาเป็นภาพรวมของหน่วยการเรียน พบว่า เมื่อใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ชุดการเรียนสื่อประสม เรื่อง “ระบบอวัยวะในร่างกายมนุษย์” วิชา ว 32101 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ทำให้นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนเท่ากับ 40.68 ซึ่งสูงกว่าที่สมมติฐานกำหนดไว้ร้อยละ 20
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนเมื่อใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ ชุดการเรียนสื่อประสม เรื่อง “ระบบอวัยวะในร่างกายมนุษย์” วิชา ว 32101 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน เมื่อพิจารณาเป็นรายชุดการเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนเมื่อใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ ชุดการเรียนสื่อประสม เรื่อง “ระบบอวัยวะในร่างกายมนุษย์” วิชา ว 32101 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน เมื่อพิจารณาเป็นภาพรวมของหน่วยการเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ชุดการเรียนสื่อประสม เรื่อง “ระบบอวัยวะในร่างกายมนุษย์” วิชา ว 32101 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อนวัตกรรมการเรียนรู้ชุดการเรียนสื่อประสม เรื่อง “ระบบอวัยวะในร่างกายมนุษย์” วิชา ว 32101 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน โดยมีระดับคุณภาพของความพึงพอใจอยู่ในช่วง 4.51 – 4.90 แสดงว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด เป็นไปตามที่สมมติฐานกำหนดไว้

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

จุดเริ่มต้นของการศึกษาไทย


สังคมไทยเป็นสังคมที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานถึง 700 ปี ถ้านับตั้งแต่สุโขทัยเป็นราชธานี แต่เหมือนกับทุกสังคมที่เป็นสังคมเกษตรจะถูกแบ่งเป็นชนชั้นปกครองและชนชั้นใต้ปกครอง ในชนชั้นปกครองถ้าพูดอย่างกว้างๆ ก็จะมี 2 ส่วนใหญ่ๆ คือส่วนที่เป็นผู้บริหารประเทศกับผู้นำทางศาสนา ในส่วนของผู้ใต้ปกครองก็มักจะเป็นเกษตรกรหรือพ่อค้าวาณิชที่มีธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อขายแลกเปลี่ยน
ในกลุ่มนักปกครองนั้นจะต้องมีทักษะพิเศษคือการรู้หนังสือเพื่อใช้ในการสื่อสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร การร่างกฎหมายและกฎระเบียบ การเก็บประวัติความเป็นมาของสังคม การรู้หนังสือจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นผู้มีความรู้เพราะอ่านออกเขียนได้ และเป็นการบ่งชี้ถึงการเป็นคนที่อยู่บันไดสังคมขั้นสูง ส่วนคนที่เป็นเกษตรกรนั้นอาจจะไม่จำเป็นต้องรู้หนังสือเลยก็ได้ แต่ขณะเดียวกันพ่อค้าวาณิชที่อยู่ในชุมชนเมืองมีความจำเป็นต้องจดบันทึกสินค้าที่มีคนซื้อโดยเชื่อเงินไว้ก่อน รวมทั้งต้องมีความสามารถในการเขียนตัวเลขเพื่อบอกจำนวนของสินค้าที่ซื้อเข้ามาหรือขายออกไป
การศึกษาหรือการเรียนในสังคมโบราณนั้นจึงมีความแตกต่างอย่างมากระหว่างกลุ่มชนชั้นปกครองซึ่งต้องมีความรู้ในระดับที่สูงเพื่ออ่านเอกสารที่ซับซ้อน เช่น กฎหมายต่างๆ ขณะเดียวกันผู้นำทางศาสนาก็ต้องอ่านภาษาที่เป็นนามธรรมซับซ้อนและลึกซึ้งเช่นเดียวกัน และส่วนใหญ่มักจะมาจากอารยธรรมที่เหนือกว่า ในส่วนของพ่อค้าวาณิชจุดเน้นมักจะอยู่ที่การอ่าน การเขียน และตัวเลข
สังคมลักษณะเยี่ยงนี้ก็สามารถดำเนินไปได้ ประเด็นสำคัญก็คือการศึกษาที่มีอยู่ในสังคมส่วนใหญ่จะมีเฉพาะบุคคลที่เป็นชนชั้นปกครองโดยมีการสอนเป็นส่วนตัวจากผู้รู้ภายในสังคมนั้นหรือมาจากต่างถิ่น ส่วนชนชั้นล่างก็ต้องศึกษาจากสถานศาสนา เช่น การบวชเป็นพระจึงศึกษาบาลีสันสกฤตและความคิดที่เป็นนามธรรมจนสามารถอ่านออกเขียนได้ ซึ่งอาจจะนำไปสู่การศึกษาตำราพิชัยสงคราม ฯลฯ
โอกาสการเคลื่อนไหวทางสังคมของชนชั้นล่างจึงมีโอกาสเพียงการเติบโตได้ดิบได้ดีในองค์กรศาสนา หรือการรบทัพจับศึกจนเป็นแม่ทัพผู้แกล้วกล้า ส่วนการจะเข้ารับราชการเป็นขุนน้ำขุนนางนั้นอาจจะทำไม่ได้ง่ายนัก เพราะมีกฎเกณฑ์ที่จะต้องมีทั้งความรู้ คุณานุรูปสืบเชื้อสายเสนาบดีเพื่อจะฝากตัวเป็นมหาดเล็กฝึกหัดการทำราชการการเคลื่อนไหวทางสังคมจึงถูกปิดกั้นโดยปริยาย
แต่เนื่องจากความจำเป็นของการที่อยู่ในสังคมยุคใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการเปิดประตูประเทศในยุครัชกาลที่ 4 ในสนธิสัญญาเซอร์จอห์นบาวริ่ง การให้ความสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาแก่ประชาชนเพื่อจะได้เป็นประชาชนที่มีคุณภาพ จึงเป็นนโยบายสำคัญของรัฐโดยล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ได้ทรงมีพระราชดำริให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสดูแลเรื่องดังกล่าวปรับเปลี่ยนวัดให้เป็นโรงเรียนเพราะเป็นสถานที่ขยายการศึกษาได้เร็วและทั่วถึง
ขณะเดียวกัน สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกราบบังคมทูลฯ ให้ตั้งโรงเรียนสำหรับผลิตข้าราชการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสถาบันการศึกษาโดยพระราชทานนามว่า"โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการพลเรือน" ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนเป็น "โรงเรียนมหาดเล็ก" จนกลายเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน
ในขณะเดียวกัน ช่วงนี้ก็มีความรู้ใหม่ๆ ไหลเข้ามาจากทางประเทศตะวันตก เช่น วิชาการแพทย์สมัยใหม่ ภาษาต่างประเทศการค้าระหว่างประเทศ ฯลฯ การเข้ามาของพวกมิชชันนารีได้นำไปสู่การเกิดโรงเรียนที่สอนศาสนา พร้อมๆ กับการสอนภาษาอังกฤษและวิชาสามัญทั่วไปขึ้น บุคคลที่สำคัญที่สุดคือ ฟ. ฮีแลร์ ซึ่งเข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่ออายุ 20 ปี และพำนักอยู่ในประเทศไทยประมาณ60 ปี ท่านผู้นี้คือผู้ซึ่งมีส่วนในการสร้างโรงเรียนมิชชันนารีสำคัญๆขณะเดียวกัน ชนชาวจีนซึ่งเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารก็ได้รวมกลุ่มกันตั้งโรงเรียนสอนภาษาจีนขึ้นทั้งใน กทม.และต่างจังหวัดทั่วประเทศไทย โรงเรียนจากมิชชันนารีและโรงเรียนจีนจึงอยู่คู่กับสถาบันการศึกษาของไทย ซึ่งเริ่มต้นความรู้ให้อ่านออกเขียนได้เลขคณิต และวิชาที่เกี่ยวข้องต่างๆ
ในสมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ได้มีการตั้งกระทรวงธรรมการหรือต่อมาคือกระทรวงศึกษาฯ ซึ่งดูแลเกี่ยวกับการศึกษา โดยเสนาบดีคนแรกคือกรมพระยาดำรงราชานุภาพ กระทรวงศึกษาฯ ที่ตั้งขึ้นมานั้นจุดประสงค์หลักคือการทำให้คนทั่วราชอาณาจักรสยามเรียนรู้ภาษาไทยราชการ ขณะเดียวกันก็มีการใช้หลักสูตรที่ทำให้คนเผ่าต่างๆ 50 กว่าเผ่าพันธุ์ ถูกผสมผสานกลมกลืนเป็นคนที่ใช้ภาษาเดียวกันในการเรียนการสอน สามารถสื่อสารกันได้ กระทรวงศึกษาธิการจึงเป็นกระทรวงที่ตั้งขึ้นมาเพื่อสร้างชาติ (Nation) ส่วนกระทรวงมหาดไทยเป็นการตั้งขึ้นมาเพื่อสร้างอำนาจรัฐ (State)
แต่เนื่องจากโรงเรียนจีนถูกมองว่าเป็นที่เพาะลัทธิคอมมิวนิสต์รวมทั้งขัดขวางกระบวนการผสมผสานกลมกลืนให้คนไทยเชื้อสายจีนรับวัฒนธรรมไทย จึงมีมาตรการจากรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงครามบังคับให้โรงเรียนจีนสอนภาษาจีนวันละหนึ่งชั่วโมง และถูกปิดด้วยการกระทำที่ผิดกฎระเบียบเป็นจำนวนมาก โรงเรียนจีนเหล่านั้นยังแอบสอนเกินหนึ่งชั่วโมง เมื่อเจ้าหน้าที่ไปตรวจก็มีการนัดแนะกันล่วงหน้า ในรายงานของเจ้าหน้าที่ก็มักจะลงว่า "เรียบร้อย"หมายความว่าไม่มีการทำผิดระเบียบ อันเป็นที่มาของคำว่า "เรียบร้อยโรงเรียนจีน"
ในส่วนของการศึกษาขั้นมหาวิทยาลัยนั้น มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลังการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 ในปี 2477 ก็มีการตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองขึ้น ซึ่งเป็นสถาบันที่มุ่งเน้นในการฝึกหัดผู้ที่จะรับราชการในกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ รวมทั้งการเป็นผู้พิพากษา การเป็นนายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัด หรือตำรวจ กล่าวอีกนัยหนึ่งเพื่อเป็นฐานการสถาปนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองจึงเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นคู่แข่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในขณะนั้น ขณะเดียวกันก็มีมหาวิทยาลัยศิริราชมหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยเกษตร ก่อนที่จะมีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลาฯลฯ
ในส่วนของโรงเรียนมัธยมโรงเรียนที่มีชื่อเสียงโด่งดังซึ่งเป็นของมิชชันนารีได้แก่ อัสสัมชัญบางรัก เซนต์คาเบรียล กรุงเทพคริสเตียน มาแตร์เดอี เซนต์โยเซฟ ฯลฯ ส่วนของรัฐได้แก่ สวนกุหลาบเทพศิรินทร์ ราชินี เป็นต้น โรงเรียนเอกชนได้แก่ อำนวยศิลป์ ไพศาลศิลป์ สารสิทธิ์ ศิริศาสตร์ ศิริทรัพย์ เป็นต้น ขณะเดียวกันก็เริ่มเกิดโรงเรียนพาณิชย์ขึ้น ที่เป็นของฝรั่งได้แก่ อัสสัมชัญพาณิชย์ (ACC)ขณะเดียวกันก็มีพาณิชย์พระนคร ตั้งตรงจิตรพณิชยการ พาณิชย์ธนบุรี นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนของเหล่าทัพและของตำรวจ
สิ่งที่พัฒนาตามมาก็คือ โรงเรียนกวดวิชาสำหรับผู้ซึ่งไม่มีเวลาเรียนตามปกติ ตามคำกล่าวของอาจารย์เพทาย อมาตยกุล ที่กล่าวว่า "โตแล้วเรียนลัดดีกว่า" โรงเรียนกวดวิชาที่ดังที่สุดคือ วัดสุทัศน์วัดมหรรณพารามวรวิหาร ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษและภาษาจีนตอนกลางคืนเพื่อเพิ่มพูนความรู้แก่ผู้ที่สนใจศึกษาด้านภาษา
ความต้องการเรียนหนังสือของคนรุ่นใหม่ได้นำไปสู่การเติบโตของโรงเรียนภาคเอกชน โรงเรียนพาณิชย์ต่างๆ ที่เลียนแบบอัสสัมชัญพาณิชย์เกิดขึ้นอย่างดาษดื่น จากผู้ซึ่งเคยศึกษาจากสถาบันดังกล่าวและเริ่มเกิดวิทยาลัยเอกชน ได้แก่ วิทยาลัยกรุงเทพวิทยาลัยหอการค้า ฯลฯ ก่อนจะเป็นมหาวิทยาลัย
วิวัฒนาการการศึกษาของไทยก่อนสงครามโลกครั้งที่สองจะมุ่งเน้นใช้หลักสูตรของอังกฤษ และหลังสงครามโลกครั้งที่สองก็เริ่มถูกอิทธิพลของอเมริกัน การออกเสียงและการสะกดตัวภาษาอังกฤษถูกเปลี่ยนแปลง และที่รุนแรงที่สุดคือผู้ซึ่งจบจากสหรัฐอเมริกาได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาของไทยจนมีผลมาถึงปัจจุบัน
ข้อสังเกตข้อหนึ่งคือ วิทยาลัยครูต่างๆ ซึ่งมุ่งเน้นเพื่อการฝึกครูรวมทั้งวิทยาลัยการศึกษาก็ได้แปรเปลี่ยนรูปเป็นมหาวิทยาลัยจนหมดสิ้นในปัจจุบัน รายละเอียดต่างๆ ยังมีอีกมาก แต่ที่ยกมาให้เห็นโดยสังเขปนี้เพื่อให้เห็นว่า วิวัฒนาการการศึกษาของไทยมีความเป็นมายาวนาน มีแหล่งความรู้จากหลายแหล่ง ทั้งจากอินเดีย จีนอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา โดยจุดประสงค์หลักสูตรเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และนโยบายของรัฐ ตลอดทั้งสถานการณ์ทางการเมืองสังคมและเศรษฐกิจในขณะนั้น
ตัวอย่างเช่น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) คือสถาบันที่เกิดขึ้นในยุคการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นต้น ส่วนมหาวิทยาลัยรามคำแหงและมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นมหาวิทยาลัยเปิดที่ทดแทนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งแปรสภาพจากมหาวิทยาลัยเปิดมาเป็นมหาวิทยาลัยปิด มาในปัจจุบันมหาวิทยาลัยหลายๆ แห่งกำลังแปรสภาพจากหน่วยงานของรัฐซึ่งเทียบเท่าหนึ่งกรม กลายเป็นมหาวิทยาลัยนอกระบบซึ่งเป็นผลมาจากเงื่อนไขที่กำหนดมาจากสถาบันการเงินที่ให้ประเทศไทยกู้เงินโดยมีเงื่อนไขผูกไว้
การศึกษาคือตัวแปรสำคัญในการสร้างคน คนคือตัวจักรสำคัญในการสร้างสังคม รัฐมนตรีที่ดูแลการศึกษาจึงต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความรอบรู้ประวัติศาสตร์และสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก จึงถือเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติยิ่งในสหรัฐอเมริกา เพราะอนาคตของประเทศชาติขึ้นอยู่กับการศึกษาและวัฒนธรรม ตราบเท่าที่ผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษามีคุณสมบัติไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง อนาคตประเทศชาติย่อมไม่สามารถจะก้าวไปในทิศทางที่พึงประสงค์ได้ เพราะการศึกษาคือการสร้างคน คนสร้างสังคม สังคมก่อขึ้นมาเป็นชาติ--จบ--

ลิขิต ธีรเวคิน ราชบัณฑิต
ผู้อำนวยการโครงการปริญญาเอก วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก

ที่มา:ความเป็นมาของระบบการศึกษาไทย,http://www.moc.moe.go.th/node/566